• ปรับขนาด
    ตัวอักษร
ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
ประเพณีบุญบั้งไฟ

ประเพณีบุญบั้งไฟ

ความสำคัญ

   ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคากเรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทานพื้นบ้านดังกล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาลและมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมากหากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้

งานประเพณีบุญบั้งไฟ เทศบาลตำบลตลิ่งชัน ร่วมกับหมู่บ้าน ที่มีชาวอีสานอพยพ เข้ามาอาศัยทำมาหากิน โดยมีขึ้นในเดือนพฤาภาคมของทุกปี ณ หมู่ที่ 4 บ้านด่านลานหอย หมู่ที่ 6 บ้านหนองเตาปูน และหมู่ที่ 9 บ้านลานกระบือใต้ ตำบลตลิ่งชัน โดยเป็นมติของหมู่บ้านที่จะจัดในหมู่ใหน โดยมีความเชื่อว่า เมื่อจัดงานนี้แล้ว เทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จะดลบันดาลให้มีฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ กิจกรรมที่สำคัญในงานประกอบด้วย

      วันแรก จะมีการจัดขบวนแห่บั้งไฟตกแต่ง ไปตามถนนภายในเขตเทศบาล การประกวดธิดาบั้งไฟโก้ การจัดงานเลี้ยงพาข้าวแลง และการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง

      วันที่สอง มีการแข่งขันการจุดบั้งไฟ

พิธีกรรม งานประเพณีบุญบั้งไฟ

     บั้งไฟแต่ละอันที่มาเข้าขบวนแห่ จะถูกตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงาม ด้วยลวดลายไทยสีทอง ว่ากันว่า ศิลปะการตกแต่งบั้งไฟนี้ นายช่างจะต้องสับและตัดลวดลายต่างๆ นี้ไว้เป็นเวลาแรมเดือน แล้วจึงนำมาทากาวติดกับลูกบั้งไฟ ส่วนหัวบั้งไฟนั้น จะทำเป็นรูปต่างๆ ส่วนมากนิยมทำเป็นรูปหัวพญานาคอ้าปากแลบลิ้น พ่นน้ำได้ บ้างก็ทำเป็นรูปอื่นๆ แต่ก็มีความหมายเข้ากับตำนานในการขอฝนทั้งสิ้น ตัวบั้งไฟจะนำไปตั้งบนฐาน ใช้รถหรือเกวียนเป็นพาหนะนำมาเดินแห่ตามประเพณี

ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นอื่นๆ